น้ำหล่อเย็น หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ น้ำหม้อน้ำ มีหน้าที่หลักคือการช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ถ้าหากว่าระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการรั่วซึม ปั๊มน้ำมีความผิดปกติ รวมไปถึงน้ำหล่อเย็นร้อนจัดจนกระทั่งเกิดการเดือด ความผิดปกติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ เพราะฉะนั้นแล้ว น้ำยาหล่อเย็นจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญ และควรได้รับการตรวจเช็คอย่างเป็นประจำ
โดยปกติแล้ว ในน้ำหล่อเย็นจะถูกผสมด้วยน้ำเปล่า และเอทิลีนไกลคอ (หรือที่เรียกว่าคูลแลนท์) ซึ่งจะช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็นให้สูงขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานในประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา นอกจากนั้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติการป้องกันตระกรัน และยังช่วยหล่อลื่นปั๊มน้ำอีกด้วย
ในปัจจุบันนั้น ได้มีผู้ผลิตหลายเจ้าที่ได้จำหน่ายน้ำหล่อเย็นซึ่งถูกปรุงแต่งให้มีคุณสมบัติพิเศษ เป็นต้นว่ามีจุดเดือดสูงกว่าปกติ รวมไปถึงความสามารถในการป้องกันสนิมและการกัดกร่อน แต่อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำหล่อเย็นคุณภาพสูงนั้น ก็ยังไม่ได้การันตีถึงความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์แต่อย่างใด
องค์ประกอบที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์นั้น ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของหม้อน้ำ ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำหล่อเย็น วาล์วตาน้ำ และอันดับสุดท้ายคือคุณภาพของน้ำหล่อเย็น ...ปัจจัยทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์อย่างปฏิเสธไม่ได้
แล้วเราจะทราบได้อย่างไร...ว่าเครื่องยนต์สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ?
เราสามารถวัดประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนของเครื่องยนต์ได้โดยการ วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น ซึ่งถือเปรียบเสมือนเป็นชีพจรของเครื่องยนต์ ซึ่งนอกจากจะบ่งบอกถึงค่าความร้อนภายในเครื่องยนต์แล้ว ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงความปกติ-หรือ-ผิดปกติของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย
เราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจสอบระดับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับรถยนต์ในปัจจุบันนั้น จะมีเพียงบางรุ่นเท่านั้นที่ได้รับการติดตั้งเกจวัดความร้อนมาให้จากโรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานโดยทั่วไป ที่ไม่ได้มีการโมดิฟายเครื่องยนต์อย่างหนักหน่วง ก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นให้ปวดหัว แต่สำหรับรถแต่งหรือรถแข่งที่ได้มีการอัพเกรดเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มแรงม้า การตรวจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศประเภทเทอร์โบชาร์จเจอร์ ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความร้อนเป็นอันดับหนึ่ง
เมื่อน้ำหล่อเย็นเกิดการรั่วซึม จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
เนื่องจากว่า เครื่องยนต์แต่ละแบบ-แต่ละประเภทนั้น มีอุณหภูมิการทำงานที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศนั้น จะมีอุณหภูมิการทำงานที่สูงกว่าเครื่องยนต์แบบปกติ เพราะฉะนั้นแล้ว อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นจึงแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้ว หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ควรมีอุณหภูมิไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส
และในระหว่างการขับขี่แบบโหลดสูง (High Load)หรือการขับแข่งขันนั้น ควรมีอุณหภูมิไม่เกิน 125 องศาเซลเซียสถ้าหากว่าน้ำหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงเกินกว่านี้ จะทำให้กลายสถานะเป็นไปส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดการโอเวอร์ฮีทได้
ในปัจจุบันมีเกจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นให้เลือกมากมาย ทั้งแบบอะนาล็อกและแบบดิจิตอล แต่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อเกจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นก็คือความแม่นยำและความทนทาน นอกจากนั้นแล้ว ตัวหน้าเรือนหน้าปัดจะต้องมีตัวเลขแสดงที่ชัดเจน-อ่านค่าได้ง่าย และควรมีฟังก์ชั่นเตือนเมื่ออุณหภูมิเกินค่าที่ตั้งไว้อีกด้วย
สำหรับวันนี้ ผมก็จะขออนุญาตแนะนำ เกจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นรุ่นใหม่ล่าสุดจาก AEM นั่นก็คือ X-Series 150C Water Gauge ขนาดมาตรฐาน 52 มิลลิเมตร สามารถวัดค่าได้ตั้งแต่ 40-150 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นแล้ว ชุดเซ็นเซอร์ที่ให้มานั้น ยังสามารถนำไปติดตั้งเพื่ออ่านค่าอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง หรืออุณหภูมิน้ำมันเกียร์ได้อีกด้วย ซึ่งอุณหภูมิดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยบ่งบอกถึงสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์และชุดเกียร์
เอาล่ะครับ และนี่ก็คือหน้าที่และความสำคัญของน้ำหล่อเย็น หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้และความเข้าใจไม่มากก็น้อย และสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจในตัวเกจวัดอุหภูมิน้ำหล่อเย็น X-Series (รวมไปถึงเกจวัดอุณหภูมิน้ำมันเกียร์ และเกจวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง) สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://siamultimateracing.com/TH/product-detail/aem-x-series-300f-150c-water-trans-oil-temperature-gauge