การใช้ระบบอัดอากาศภายในเครื่องยนต์นั้น ได้เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเริ่มแรกเดิมทีนั้น ระบบอัดอากาศได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ เพื่อช่วยประจุอากาศเข้าสู่ระบบไอดีขณะทำการบินที่เพดานบินสูงๆ
หลังจากนั้น จึงได้มีการนำเอาระบบอัดอากาศมาใช้กับรถยนต์ เพื่อให้สามารถอัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ได้มากขึ้น เป็นผลให้เครื่องยนต์มีกำลังที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และสำหรับระบบอากาศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น ก็ได้แก่ ระบบเทอร์โบ และระบบซุปเปอร์ชาร์จ
โดยปกติแล้ว สำหรับเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ แรงดันของอากาศในท่อไอดีนั้น จะมีค่าต่ำกว่าแรงดันบรรยากาศภายนอก (แรงดันเป็นค่าลบ = แรงดูด) แต่สำหรับเครื่องยนต์ประเภทเทอร์โบชาร์จเจอร์ (รวมไปถึงซุปเปอร์ชาร์จเจอร์) แรงดันในท่อร่วมไปดีนั้น จะมีค่ามากกว่าแรงดันบรรยากาศ (แรงดันเป็นค่าบวก = แรงผลัก) ซึ่งแรงผลักนี้จะอัดอากาศให้ไหลเข้าสู่กระบอกสูบในปริมาณที่เยอะขึ้น ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อว่า ‘บูสต์’ นั่นเองครับ
‘บูสต์’ ย่อมาจาก ‘เทอร์โบ บูสต์’ (Turbo Boost) หมายถึงแรงดันอากาศฝั่งไอดี ซึ่งเป็นแรงดันอากาศไหลมาจากเทอร์โบชาร์จเจอร์ฝั่งคอมเพรสเซอร์ (ผ่านอินเตอร์คูลเลอร์มาแล้ว)
ปริมาณของบูสต์สูงสุดที่สร้างได้นั้น จะขึ้นอยู่หลายปัจจัย เป็นต้นว่า ความสามารถของเทอร์โบ, ขนาดท่อร่วมไปดี รวมไปถึงลักษณะเชิงกายภาพและความทนทานของเครื่องยนต์ นอกจากนั้นแล้ว สำหรับเครื่องยนต์ที่มีระบบประจุอากาศแบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ ก็จะสามารถสร้างแรงดันอากาศที่มีค่าบวก หรือที่เรียกว่าบูสต์ได้เช่นเดียวกัน โดยปริมาณของบูสต์ที่สร้างได้ของระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์นั้น จะแปรผันกับรอบเครื่องยนต์เป็นหลัก
เครื่องยนต์ที่ดีนั้น นอกจากจะต้องสามารถสร้างบูสต์ได้มากแล้ว ก็จะต้องสามารถ ‘ควบคุม’ ปริมาณของบูสต์ได้อย่างแม่นยำ โดยหน้าที่ของการควบคุมแรงดันที่บริเวณท่อไอดี จะเป็นหน้าที่ของ ‘เวสต์เกต’ หรือวาล์วควบคุมไอเสียนั่นเอง
ปกติแล้ว รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ได้มีการติดตั้งระบบอัดอากาศมาให้จากโรงงาน จะมีเกจวัดบูสต์มาให้เป็นที่เรียบร้อย
บูสต์เกจที่ติดตั้งมาให้จากโรงงาน ของ Honda Civic Turbo
แต่สำหรับรถแต่งที่มีการเซ็ทอัพเทอร์โบในภายหลังนั้น การติดตั้งเกจวัดบูสต์ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยให้เราทราบปริมาณบูสต์ได้อย่างเรียล-ไทม์แล้ว ยังทำให้เราเห็นถึงความปกติ-หรือ-ผิดปกติ ของระบบเทอร์โบ ยกตัวอย่างเช่น อาการบูสต์ไหล หรือ อาการบูสต์สะดุด ซึ่งทำให้เราสามารถหาสาเหตุ และแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
บูสต์เกจ (ซ้ายสุด) / เซนเซอร์ AF (ตรงกลาง) / เซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (ขวาสุด)
สำหรับวันนี้ ผมก็จะขออนุญาตมาแนะนำเกจวัดบูสต์จาก AEM นั่นก็คือ X-Series 35PSI / 2.5BAR Boost Display Gauge ขนาดมาตรฐาน 52 มิลลิเมตร พร้อมไฟแอลอีดีเพื่อแสดงตำแหน่ง และมีหน้าจอดิจิตอลบอกตัวเลขของบูสต์ สามารถเลือกซื้อแบบหน่วย PSI หรือหน่วย BAR ได้ โดยสามารถแสดงผลได้สูงสุด 2.5 BAR ในชุดเกจวัดบูสต์จะมีเซ็นเซอร์พร้อมสายไฟมาให้อย่างเสร็จสรรพ
แต่สำหรับสายฮาร์ดคอร์ที่ได้มีการปรับเพิ่มบูสต์แบบสุดกู้เพื่อการวิ่งแบบถวายชีวิต ก็สามารถเลือกใช้เกจวัดบูสต์รุ่น X-Series 60PSI / 4BAR ซึ่งสามารถแสดงค่าบูสต์ได้สูงสุดถึง 4 BAR เลยทีเดียว!!
X-Series 60PSI / 4BAR
เราเข้าใจกันว่า รถที่มีเทอร์โบคือรถที่มีแรงม้าสูงๆและกินน้ำมันมากๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในปัจจุบันนี้ ค่ายรถยนต์หลายค่ายได้นำเทอร์โบมาใช้กันมากขึ้น หากแต่ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเทอร์โบมาใช้นั้น ไม่ใช่เพื่อต้องการให้รถมีกำลังมากขึ้นแต่ประการใด แต่ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เพื่อให้ประหยัดน้ำมันมากที่สุด เทคโนโลยีดังกล่าวเรียกว่า Downsizing ซึ่งเป็นการลดปริมาตรของกระบอกสูบลง และพร้อมกันนั้นก็ได้มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป การทำเช่นนี้จะทำให้เครื่องยนต์ขนาดเล็กสามารถให้กำลังได้เทียบเท่ากับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่
เอาล่ะครับ และนี่ก็คือเรื่องราวและความสำคัญของ ‘บูสต์’ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ขาซิ่งสายล่าแรงม้าโหยหามากที่สุดก็ว่าได้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้และความเข้าใจไม่มากก็น้อย และสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจในตัวเกจวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง X-Series สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ซื้อแบบผ่อนที่ Shopee > https://shp.ee/wcjiwyh
Boost 4 บาร์ / 60 ปอนด์ :
https://siamultimateracing.com/TH/product-detail/aem-x-series-boost-pressure-gauge-30-60psi-1-4bar-30-0308-
ซื้อแบบผ่อนที่ Shopee > https://shp.ee/pnqj5sr
NEW ITEM
เกจวัดและปรับบูสไฟฟ้า AEM Tru-BoostX https://siamultimateracing.com/TH/product-detail/aemtruboostx