ย่อมาจาก (On-board Diagnostics) เป็นระบบวิเคราะห์การทำงานของเครื่องยนต์พร้อมแจ้งเตือนคนขับเพื่อบอกสาเหตุถึงความผิดพลาดทั้งในส่วนของซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ การวิเคราะห์และแจ้งเตือนแบบ OBD นั้น ถือเป็นมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้รถยนต์ทุกค่ายมีความสอดคล้องกัน โดยในอดีตนั้น รถยนต์ทุกค่ายจะต้องมีระบบ OBD I (OBD Level 1)
ระบบ OBD I นั้น เป็นระบบวิเคราะห์เครื่องยนต์เบื้องต้น เมื่อ ECU ตรวจพบว่า เครื่องยนต์หรือระบบใดๆ มีการทำงานที่ผิดปกติ จะปรากฏหลอดไฟกระพริบที่แผลหน้าปัด แต่จะไม่แจ้งสาเหตุว่าความผิดปกตินั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร? ซึ่งนี่ก็คือข้อด้อยของระบบ OBD I
ระบบ OBD I ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.1980 โดยฟังก์ชั่น OBD นั้น จะถูกฝังอยู่ใน ECU และจะตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้น สมาพันธุ์ยานยนต์นานาชาติหรือ SAE จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบ OBD และได้มีการผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์พัฒนาระบบ OBD ให้มีความสอดคล้องและมีความล้ำสมัยมากขึ้น จนกระทั่งกลายมาเป็น OBD II ที่เราสามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายในรถยนต์ยุคปัจจุบัน
การถือกำเนิดของ OBD II
ระบบ OBD II นั้น ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก OBD I สำหรับ OBDII นั้น นอกจากจะสามารถแจ้งเตือนถึงความผิดปกติแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสาเหตุของปัญหาได้อีกด้วย จึงถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้รถยนต์โดยตรง รวมไปถึงศูนย์บริการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรถยนต์ ปกติแล้ว ปลั๊ก OBDII จะถูกติดตั้งไว้ภายในห้องโดยสาร ด้านล่างของคอนโซล
ตำแหน่งของพอร์ต OBDII จะแตกต่างกันไปในรถยนต์แต่ละรุ่น
โดยมากแล้ว จะอยู่ด้านล่างของโคนโซลฝั่งคนขับ
พื้นฐานการทำงานของระบบ OBDII
นอกจากระบบ OBD II จะสามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนความผิดปกติได้แล้ว อีกหนึ่งวัตถุประสงค์ที่ SAE บังคับใช้ระบบ OBD II กับรถยนต์ทุกประเภทนั้น ก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรฐานมลพิษทางไอเสีย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากรถยนต์คันหนึ่ง มีระบบการเผาไหม้ที่ผิดปกติ หรือมีระบบกรองไอเสียที่ผิดปกติ จนทำให้มีปริมาณไอเสียเกินมาตรฐาน ระบบ OBD II จะแจ้งเตือนโดยการโชว์ไฟเตือนที่แผงหน้าปัดโดยทันที เพื่อให้ผู้ขับขี่จะได้นำรถยนต์เข้าไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการเพื่อหาสาเหตุต่อไป
ตำแหน่ง PIN ของปลั๊ก OBDII
ค่าที่อ่านได้จากพอร์ต OBDII จะเป็นโค้ดสี่หลัก
โดยเราสามารถทราบถึงปัญหาเบื้องต้นได้โดยการอ้างอิงจากรูปด้านบน
ในปัจจุบันนี้ สแกนเนอร์ OBDII ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเป็นการตรวจวัดค่าต่างๆ ที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์รอบเครื่องยนต์ (รวมไปถึงข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล) ถือเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการวิเคราะห์การทำงานของเครื่องยนต์ในรถยนต์ยุคปัจจุบัน และที่สำคัญ การใช้เครื่องมือสแกนเนอร์ จะทำให้เราสามารถตรวจสอบความผิดปกติและวิเคราะห์ความผิดพลาด เป็นผลให้สามารถทำการแก้ไขปัญหาและซ่อมแซมเครื่องยนต์ได้อย่างตรงจุด
ซื้อแบบผ่อนที่ Shopee > https://shp.ee/99uv7u5
อ้างอิง